พันธกิจที่ 2: พัฒนาคุณภาพการศึกษา

โครงการ Art4Worth

มูลนิธิพุทธรักษามีแนวคิดในการต่อยอดมิติทางด้านการศึกษาและขยายโอกาสให้เข้าถึงกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาส จึงได้ริเริ่มโครงการ Art4Worth เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่สำหรับทำงานในมิติด้านสังคมกับเด็กและเยาวชน จากแนวคิดเริ่มต้นของคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ประธานกรรมการมูลนิธิพุทธรักษา ที่ประสงค์ให้มูลนิธิฯ ใช้ศิลปะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของเด็กที่ขาดโอกาส มูลนิธิฯ จึงได้ออกแบบโครงการ Art4Worth เพื่อส่งเสริมให้เด็กที่ขาดโอกาสมีการพัฒนาทั้งทักษะในด้านศิลปะ และพัฒนาลักษณะพฤติกรรมและนิสัยที่ดีไปพร้อมกันได้ การเรียนรู้ศิลปะยังสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตไปตามวุฒิภาวะ ความสนใจ และความต้องการของเด็กๆ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียนในหลายด้าน ช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ มองเห็นความมีคุณค่าในตนเอง ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตในอนาคต กิจกรรมทางศิลปะจะช่วยพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ อันเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิต รวมทั้งการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพต่อไปได้

พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการArt4worth
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการArt4worth
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการArt4worth
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการArt4worth
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการArt4worth
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการArt4worth

โครงการเกษตร

จุดเริ่มต้นของโครงการมาจากการที่มูลนิธิพุทธรักษาต้องการส่งเสริมในเรื่องของความยั่งยืนให้กับโรงเรียน จึงเกิดเป็นโครงการเกษตรยั่งยืนขึ้นมา เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถช่วยให้โรงเรียนพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นในเรื่องของแหล่งอาหาร ที่ปรับเปลี่ยนจากการซื้อจากภายนอกมาเป็นการผลิตด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียนที่สนใจด้านการทำเกษตร โดยทำการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมีทุกกระบวนการ เน้นรูปแบบเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก เพื่อให้โรงเรียนสามารถสร้างแหล่งผลิตอาหารของตนเองโดยเริ่มจากศึกษาข้อมูลว่าโรงครัวของโรงเรียนใช้ผลผลิตทางการเกษตรอะไรบ้าง และนำมาศึกษาทดลองว่าภายในพื้นที่โครงการสามารถปลูกพืชผักที่โรงครัวต้องการได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตผลจากภายนอก

พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการเกษตร
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการเกษตร
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการเกษตร

นอกจากนี้โครงการเกษตร ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงการเกษตรยั่งยืนให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ในอนาคต จึงมีการวางแผนในการบริหารจัดการการทำการเกษตรอย่างครบวงจรทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เช่น สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้เองจากมูลไส้เดือน โรงเพาะชำและเก็บเมล็ดพันธุ์พืชได้เอง มีการแบ่งกลุ่มนักเรียนในการดูแลและบริหารจัดการภายในพื้นที่ มีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตที่ได้จากโครงการ เป็นต้น

โครงการแนะแนว

ในปี 2560 – 2561 ที่ผ่านมา ธุรกิจเพื่อสังคม a-chieve ร่วมกับมูลนิธิพุทธรักษา ได้ริเริ่มการจัดแนะแนวในโรงเรียนธรรมจารินีวิทยา และโรงเรียนวัดสระแก้ว ได้แก่ “ค่ายค้นหาตัวเองและออกแบบทางเลือก” ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 และกิจกรรม “Career Day เปิดโลกอาชีพ” สำหรับนักเรียนระดับชั้นตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 2 – 6

ซึ่งเป้าหมายแรกเริ่มในการจัดกิจกรรมคือ เพื่อพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ การรู้จักตัวเอง และออกแบบทางเลือก รวมถึงเริ่มตั้งคำถามถึงเป้าหมายทางการเรียนและการเรียนต่อให้กับนักเรียนมัธยมปลาย และขยายโอกาสในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ เพื่อให้นักเรียนสามารถมีข้อมูลและหลักการในการตัดสินใจเรียนต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การจัดกิจกรรมแนะแนวในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาถือเป็นการแนะนำให้นักเรียน ครู และโรงเรียนเริ่มคุ้นเคยและสัมผัสประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตนจากกิจกรรมแนะแนวในโรงเรียน ซึ่งผลการดำเนินการได้รับการตอบรับจากนักเรียนและประสบความสำเร็จในขั้นแรกเป็นอย่างดี

ทั้งนี้ในระยะต่อไป ทางทีมงาน a-chieve และมูลนิธิพุทธรักษาจะมุ่งไปที่เป้าหมายในการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการแนะแนวให้กับโรงเรียน ซึ่งก็คือการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน (key agent) ให้สามารถจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบการดูแลได้ด้วยตนเองในระยะยาว

พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการแนะแนว
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการแนะแนว

โครงการ HIGHSCOPE

งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การพัฒนาเด็กปฐมวัย (early childhood development) มีส่วนสำคัญในการสร้างทุนมนุษย์ (human capital) ให้กับประชากรของประเทศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตของสังคม ช่วยลดต้นทุนทางสังคมที่อาจจะเกิดจากการก่ออาชญากรรม ติดยาเสพติด นอกจากนี้การพัฒนาเด็กปฐมวัยยังสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้วยการลดความแตกต่างด้านทุนมนุษย์นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบัน มูลนิธิพุทธรักษาจึงได้สนับสนุนโครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ (Reducing Inequality through Early Childhood Education: RIECE Thailand) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ไรซ์ไทยแลนด์” เพื่อพัฒนา “หลักสูตรไรซ์ไทยแลนด์” อันเป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วง 6 ขวบแรก ที่ยึดวงล้อแห่งการเรียนรู้ (Wheel of Learning) ตามแนวทางของหลักสูตรไฮสโคป (HighScope) เป็นแกนหลักในการพัฒนาเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำ (Active Learning) เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้ริเริ่ม (Child Initiative) ผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก (Adult-Child Interaction) ที่อาศัยการการสื่อสารแบบ 2 ทาง การสร้างความเข้าใจ การให้กำลังใจ และการแก้ปัญหาร่วมกัน ตลอดจนกิจวัตรประจำวัน (Daily Routine) ที่ชัดเจนและสม่ำเสมอ สื่อการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม (Learning Environment) ที่ส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและหลากหลายเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือก และการประเมิน (Assessment) ที่เชื่อมโยงกับตัวบ่งชี้พัฒนาการ (Key Developmental Indicators: KDIs) เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต อันจะนำไปสู่การบรรลุศักยภาพสูงสุดตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล

หลักสูตรไฮสโคปมีกิจกรรมที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่อ “กิจกรรม Plan-Do-Review” ซึ่งประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 3 ขั้นตอนได้แก่

  • การวางแผน (Plan)
  • ฝึกให้เด็กได้วางแผนการเล่น ว่าจะเล่นอะไร ด้วยวัสดุชนิดใด เป็นกระบวนการให้เด็กได้วางแผนเลือก และตัดสินใจอย่างเป็นระบบ

  • การปฏิบัติ (Do)
  • เป็นการลงมือทำตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้เด็กๆ ได้สังเกต ทดลอง คิดแก้ปัญหา ตัดสินใจด้วยตนเอง พัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย และทักษะการเข้าสังคมผ่านการร่วมเล่นกับเด็กคนอื่นๆ

  • การทบทวน (Review)
  • ฝึกให้เด็กได้ทบทวนว่าสิ่งที่ได้ทำนั้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ให้เด็กๆได้เชื่อมโยงความคิดระหว่างแผนกับการปฏิบัติ จนกระทั่งออกมาเป็นผลงานและได้เล่าถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารอีกด้วย

ปัจจุบันมูลนิธิพุทธรักษาร่วมกับโครงการไรซ์ไทยแลนด์

นำหลักสูตรนี้ไปพัฒนาที่โรงเรียนธรรมจารินีวิทยา จังหวัดราชบุรี จนสามารถนำหลักสูตรมาพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยทั้ง 7 ห้องเรียน และเมื่อเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา ก็ได้เปิดศูนย์อบรมโรงเรียนธรรมจารินีวิทยา เพื่อรองรับการอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานที่จริง (On-site Training) ให้แก่บุคลากรทางการศึกษาที่สนใจ

อ่านเอกสารเกี่ยวกับโครงการไรซ์ไทยแลนด์ และหลักสูตรไฮสโคปเพิ่มเติมได้ที่

พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการHISCOPE
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการHISCOPE

โครงการพัฒนาวิชาภาษาอังกฤษ

มูลนิธิพุทธรักษามีพันธกิจหลักในการมอบโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กที่ขาดโอกาส โดยได้มีประสบการณ์ในการพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส เช่น โรงเรียนวัดสระแก้ว (รุ่งโรจน์ธนกุลอุปถัมภ์) จังหวัดอ่างทอง และโรงเรียนธรรมจารินีวิทยา จังหวัดราชบุรี ฯลฯ ซึ่งมูลนิธิฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งถือเป็นภาษาสากลของโลก และเป็นทักษะสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนสามารถมีโอกาสในชีวิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต จึงได้มีนโยบายขยายโอกาสด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษไปยังโรงเรียนและศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อให้เยาวชนที่อยู่ห่างไกลได้เข้าถึงโอกาสในการศึกษาอย่างเท่าเทียม มูลนิธิพุทธรักษาจึงได้จัดทำแผนและหลักการการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (วิชาภาษาอังกฤษ) ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานในพัฒนาวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนและศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพ

    วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่สูงขึ้น
  • เพื่อยกระดับการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนและศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  • เป้าหมาย

  • นักเรียนในโรงเรียนและศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและต่อยอดความรู้ด้วยตัวเองได้
  • นักเรียนในโรงเรียนและศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสอบผ่านการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
  • หลักการ

    เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย มูลนิธิพุทธรักษาได้กำหนดหลักการในการดำเนินงานให้ไปสู่เป้าหมายไว้ 3 องค์ประกอบ คือ 1.ครู 2.การเรียนการสอน 3.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้

1. ครู มูลนิธิพุทธรักษาได้แบ่ง ครูวิชาภาษาอังกฤษ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ

Responsive image
  • ครู ตชด. (BPP Teachers) หมายถึง ครูของตำรวจตระเวนชายแดนที่ทำหน้าที่สอนวิชาภาษาอังกฤษครู ตชด.ถือเป็นครูหลักที่มีความสำคัญที่สุดเนื่องจากเป็นบุคลากรโดยตรงของโรงเรียนและศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนโดยตรงซึ่งเมื่อครูหลักมีศักยภาพในการสอนวิชาภาษาอังกฤษแล้วย่อมทำให้เกิดความยั่งยืนด้านวิชาการอันจะส่งผลลัพธ์ไปที่ตัวนักเรียนโดยตรง มูลนิธิฯจะมุ่งเน้นให้ความร่วมมือในการเสริมศักยภาพครู ตชด. ให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้นทั้งทางด้านความรู้วิชาการภาษาอังกฤษและวิธีการสอนอย่างต่อเนื่องตามแนวทางการเรียนการสอนแต่ละช่วงชั้น ที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันพัฒนาระหว่างมูลนิธิพุทธรักษาและกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน
  • เจ้าหน้าที่พัฒนาคุณภาพการศึกษา (วิชาภาษาอังกฤษ) มูลนิธิพุทธรักษา หมายถึงบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดของมูลนิธิฯ

สนใจร่วมเป็นอาสาสอนภาษาอังกฤษในพื้นที่ ตชด.32 หรือสมัครเป็นเจ้าหน้าที่พัฒนาคุณภาพการศึกษา(ภาษาอังกฤษ) มูลนิธิพุทธรักษา

ติดต่อได้ที่ [email protected]

พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสอนภาษาอังกฤษ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสอนภาษาอังกฤษ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสอนภาษาอังกฤษ

2. การเรียนการสอน (Teaching)

มูลนิธิพุทธรักษาตระหนักว่าวิธีการเรียนการสอนที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจะทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษด้วยความสุขและทำให้โครงการความร่วมมือฯ สามารถประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายมูลนิธิพุทธรักษาจึงได้พัฒนามาตารฐานวิชาภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนและศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นโดยมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  • เทคนิคที่ใช้ในการเรียนการสอน (Technique) หมายถึงวิธีที่ครูวิชาภาษาอังกฤษใช้ในการถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียน โดยมูลนิธิพุทธรักษามีแผนที่จะพัฒนาการเรียนการสอนแต่ละช่วงชั้นตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีเทคนิคการสอนที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม เช่นกลุ่มนักเรียนชั้นอนุบาล ใช้วิธีการสอนแบบธรรมชาติและแบบมุ่งประสบการณ์โดยเป็นการฟังและพูดก่อนการเขียนอ่านทำให้นักเรียนเหล่านั้นสามารถใช้ภาษาได้ในชีวิตประจำวัน
  • สื่อสร้างการเรียนรู้ (Instructional Media) ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษสื่อสร้างการเรียนรู้ถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถมีความสนใจและความสุขในการเรียน ซึ่งจะทำให้เกิดการจดจำคำศัพท์หรือบทเรียนจากเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นระหว่างครูและนักเรียนมูลนิธิฯ จึงสนับสนุนสื่อด้านการเรียนรู้ดังกล่าวในทุกๆ ด้าน
  • การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ (The achievement in English) มูลนิธิฯ กำหนดเป้าหมายชัดเจนที่จะทำให้นักเรียนสามารถสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษให้ผ่านในการสอบวัดการประเมินตามมาตรฐานของหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการในแต่ละช่วงชั้น และ การสอบวัดผลระดับประเทศ NT และ O-NET ซึ่งจะมีผลต่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นของนักเรียนโดยตรง โดยในการพัฒนาการเรียนการสอนแต่ละช่วงชั้น มูลนิธิพุทธรักษาจะกำหนดการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษจากตัวชี้วัดจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ทั้งการเรียนการสอนและการสอบวัดผลสัมฤทธิ์มีความสอดคล้องกับมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการและส่งผลต่อเนื่องนักเรียนสามารถสอบวัดระดับผลระดับประเทศผ่านมาตรฐานตามเป้าหมายต่อไป
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสอนภาษาอังกฤษ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสอนภาษาอังกฤษ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสอนภาษาอังกฤษ

3. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)

มูลนิธิพุทธรักษาตระหนักว่าวิธีการเรียนการสอนที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น จะทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษด้วยความสุขและทำให้โครงการความร่วมมือฯ สามารถประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย มูลนิธิพุทธรักษาจึงได้พัฒนามาตารฐานวิชาภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนและศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้น โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  • ห้องเรียน มูลนิธิพุทธรักษาให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้สอดคล้องกับเทคนิคการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยพร้อมสนับสนุนด้านการพัฒนาห้องเรียนให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้ อาทิ การนำเอาองค์ความรู้ตามหลักการการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based learning)มาช่วยในการพัฒนาห้องเรียนทั้งในเรื่องการออกแบบ และ ช่วยประสานงานเพื่อช่วยหาสิ่งจำเป็น เป็นต้น
  • การเรียนรู้นอกห้องเรียน การเรียนรู้นอกห้องเรียนทำให้เด็กนักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในการใช้ชีวิตประจำวัน จึงถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้นักเรียนสามารถที่จะพัฒนาทักษะการสื่อสารและต่อยอดความรู้วิชาภาษาอังกฤษได้ด้วยตัวเองซึ่งครูภาษาอังกฤษมีส่วนสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นประสบผลสำเร็จ โดยมี 3 แหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ ครอบครัว ชุมชน และห้องสมุด
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสอนภาษาอังกฤษ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสอนภาษาอังกฤษ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสอนภาษาอังกฤษ

ปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้เริ่มดำเนินงานในพื้นที่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เพื่อเป็นกลุ่มต้นแบบ เพื่อนำไปขยายผลทั่วประเทศในอนาคต โดยมีโรงเรียนรวมทั้งสิ้น 16 โรงเรียน ได้แก่ รร.ตชด.เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 4, รร.ตชด.สังวาลย์วิท 8, รร.ตชด.บำรุงที่ 112, รร.ตชด.ทอท, ศกร.ตชด.บ้านฟ้าไทยงาม, รร.ตชด.ชนัตถ์ปิยะอุย, ศกร.ตชด.บ้านห้วยกุ๊ก, รร.ตชด.อาชีวศึกษาเชียงราย-พะเยา, รร.ตชด.เทคนิคดุสิต, รร.ตชด.บ้านดอยล้าน, ศกร.ตชด.อินทรีอาสา (บ้านห้วยน้ำกืน), รร.ตชด.เบ็ตตี้ดูเมน, รร.ตชด.พีระยานุเคราะห์ 3, รร.ตชด.เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี, ศกร.ตชด.บ้านจะนู, ศกร.ตชด.บ้านห้วยปุ้ม

โครงการสหกรณ์

ร้านค้าสวัสดิการและสหกรณ์โรงเรียนธรรมจารินีวิทยาเปิดจำหน่ายเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 จากการสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินงานจากมูลนิธิพุทธรักษา โดยจัดจำหน่ายสินค้าหลากหลายประเภทในราคาย่อมเยาเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่แม่ชี ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ให้ได้ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาประหยัด และยังได้รับเงินปันผลคืน

ทั้งนี้ สินค้าที่นำมาจำหน่าย ได้รับการคัดเลือกและจัดซื้อภายใต้แนวคิด “ หน้าร้านโรงเรียน หน้าบ้านชุมชน” คือนอกจากจำหน่ายขนม เครื่องดื่ม เครื่องเขียน สินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฝีมือนักเรียนจากชมรมต่างๆ เช่น ชมรมเกษตร ชมรมจักสาน ชมรมเบเกอรี่ชมรมขนมไทย แล้วนั้น ทางร้านฯยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชาวชุมชนในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและช่องทางประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของชาวชุนชนอีกด้วย

พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสหกรณ์
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสหกรณ์

มูลนิธิพุทธรักษา ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนซื้อหุ้นสหกรณ์ให้กับนักเรียนโรงเรียนธรรมจารินีวิทยาทุกคนๆละ 1 หุ้น จำนวนหุ้นละ 100 บาท เพื่อให้นักเรียนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหกรณ์โรงเรียน โดยนักเรียนทุกคนจะได้รับเงินปันผลหุ้นและเงินปันผลเฉลี่ยคืนทุกสิ้นปีการศึกษา โดยนำเงินปันผลทั้งหมดฝากไว้ในบัญชีธนาคารโรงเรียนธรรมจารินีวิทยาจนกว่านักเรียนจะสำเร็จการศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จึงจะสามารถถอนเงินทั้งหมดได้เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ของมูลนิธิพุทธรักษาที่ให้นักเรียนทุกคนได้นำเงินดังกล่าวไปใช้สำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไป

นอกจากนี้ในสหกรณ์ร้านค้ายังได้คัดเลือกนักเรียนเพื่อมาทำงานประจำร้าน ซึ่งนอกจากจะได้ค่าตอบแทนในการทำงานแล้ว นักเรียนยังได้เรียนรู้ทักษะด้านต่างๆผ่านการปฏิบัติงานจริง เช่น ฝึกทักษะในการซื้อ ขายสินค้า ฝึกทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมและการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกความซื่อสัตย์สุจริต ฝึกการจัดทำระบบบัญชีรับ – จ่าย เป็นต้น

พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสหกรณ์
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสหกรณ์
พัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการสหกรณ์

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาดูงานโครงการสหกรณ์โรงเรียนธรรมจารินี
สามารถติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/buddharaksafoundation/?ref=bookmarks

จุดเริ่มต้นของมูลนิธิพุทธรักษา...

จากดำริของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ และคุณหญิงเทวี เจียรวนนท์ ที่ยึดแนวทางการดำเนินกิจการที่ไม่ได้มุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเพียงด้านเดียวแต่ให้ธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมที่ดี คุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทดีที (DT Group of Companies หรือ DTGO)จึงได้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธรักษาขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ใน “การให้” แก่ผู้ขาดโอกาสทางสังคม ของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ และคุณหญิงเทวี เจียรวนนท์